ข้อควรรู้ในการเลือกระบบ Pneumatic conveying สำหรับวัสดุแบบผง

ข้อควรรู้ในการเลือกระบบ Pneumatic conveying สำหรับวัสดุแบบผงปัจจุบันวิวัฒนาการอุตสาหกรรมการผลิตได้เจริญรวดเร็วไปอย่างมาก ในโลกของเทคโนโลยีการนำระบบ Pneumatic conveying มาใช้ในระบบการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเหมือนกัน ซึ่งผู้ประกอบการและวิศวกร ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต เพื่อนำมาสนับสนุนกระบวนการผลิตตั้งแต่การนำวัตถุดิบมายังโรงงาน ผ่านกระบวนการผลิต จนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ไปยังคลังสินค้าหรือลูกค้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ หรือการขนย้ายทั้งสิ้น โดยจะต้องพิจารณาการขนถ่ายวัสดุให้เป็นระบบ และพยายามลดปัญหาการขนถ่ายให้หมดไป ทำอย่างไรให้การขนถ่ายวัสดุเป็นไปสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระบวนการผลิตขององค์กรที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างจริงจัง สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยเพื่อการบริหารในการผลิตของโรงงานให้เกิดประสิทธิภาพ

การขนถ่ายวัสดุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและโรงฝึกงาน ซึ่งเราจะทราบถึงวัตถุประสงค์ในการใช้อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ กฎทั่วไปของการขนถ่ายวัสดุ การเลือกชนิดอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุกับตัวแปรในการเลือก อุปกรณ์พื้นฐานในโรงงานทั่วไป ได้แก่สายพานลำเลียง (Conveyor) ปั่นจั่นและรอก (Cranes and Hoists) รถยก (Industrial Trucks) เป็นต้น สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะทำให้เราสามารถนำไปใช้พิจารณาหาอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุที่เหมาะสมกับวัสดุที่เราจะขนถ่ายได้ในที่สุด

ระบบ Pneumatic conveying สำหรับผงและการลำเลียงวัสดุในปริมาณมากมักต้องระมัดระวังความเสี่ยงต่างๆ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นถึงปลายทาง วัสดุที่เป็นผงมักถูกลำเลียงจากต้นทางเข้าสู่กระบวนการผลิตด้วยสุญญากาศหรือแรงดันติดลบ โดยประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของระบบ Pneumatic conveying คือความสามารถในการควบคุมฝุ่น ซึ่งในอุตสาหกรรมฝุ่นที่ติดไฟได้ถือเป็นประเด็นหนึ่งด้านความปลอดภัย

ระบบ Pneumatic conveying มีหลักการทำงานที่ง่าย และ เหมาะสมกับการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล ซึ่งวัสดุ จะอยู่ในรูปของเม็ด และผง ไป ตามท่อโดยลมที่มีความดันบวก หรือความดันลบ (สูญญากาศ) มีใช้งานทั้งในอุตสาหกรรม การผลิต ทาง การเกษตร เคมีภณัฑ์ ฯลฯ

ระบบควบคุมจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายและการนำสินค้าออกทำได้ทุกเวลา ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตขนาดใหญ่ที่ต้องการขนถ่ายวัสดุจำนวนมากจากบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น ถุงขนาดใหญ่ รถราง และไซโล โดยใช้กระบวนการอัตโนมัติเป็นหลักซึ่งจะช่วยลดการย้ายสินค้าจากบรรจุภัณฑ์หนึ่งไปอีกบรรจุภัณฑ์หนึ่งบ่อยๆ เพื่อออกแบบระบบลำเลียงที่เหมาะสม

ข้อสรุปและเรียนรู้เกี่ยวกับ 8 ปัจจัยเหล่านี้ในกระบวนการผลิต

1. ความหนาแน่นของผลิตภัณฑ์
2. ระยะทางในการลำเลียง
3. อัตราการลำเลียง
4. รับวัสดุอย่างไร
5. เข้าใจกระบวนการผลิตก่อนหน้า
6. เงื่อนไขของพื้นที่
7. ความต่อเนื่องของระบบลำเลียง
8. สภาพบรรยากาศแวดล้อม