ปั๊มลมอุตสาหกรรม ทำให้เกิดแรงอัดอากาศ ทำให้ความดันลมที่สม่ำเสมอ

ปั๊มลมเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานกิจการอุตสาหกรรม การเลือกปั๊มลมที่เหมาะสมกับความต้องการสามารถสร้างความแตกต่างในการทำงานได้อย่างชัดเจน และมีคุณสมบัติใดบ้างที่ต้องพิจารณาสำหรับเลือกใช้งานปั๊มลมอุตสาหกรรม

ในส่วนของ งานช่าง อู่รถยนต์ ศูนย์ซ่อมบริการ โรงงาน หรือ อุตสาหกรรมที่ใช้ปริมาณลมไม่มาก และไม่ได้ใช้ชั่วโมงการทำงานตลอดทั้งวัน ปั๊มลมลูกสูบระบบสายพานถูกนำไปใช้อย่างต่อเนื่องจากการบำรุงรักษาง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก ในส่วนของอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้ปริมาณลมที่สูงและต้องการคุณภาพลมที่ต่อเนื่องปั๊มลมระบบสกรูถูกนำไปตอบโจทย์เรื่องการประหยัดพลังงานและความดันที่คงที่

การเลือกใช้ปั๊มลมอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ปั๊มลมลูกสูบระบบสายพาน ถูกนำไปใช้กลุ่มงานที่ใช้ปริมาณลมไม่มากและไม่ได้ใช้ต่อเนื่องตลอดวัน ปั้มลมลูกสูบระบบสายพาน มีราคาย่อมเยา ดูแลและซ่อมบำรุงรักษาง่าย ราคาอะไหล่ไม่แพง และเป็นที่คุ้นเคยของผู้ใช้งาน รวมถึงสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถนำมาแบ่งแยกการใช้เป็นยูนิต ๆ ได้สะดวก ในอีกด้านนึงปั๊มลมลูกสูบระบบสายพานมีข้อจำกัดในเรื่อง ของปริมาณลมที่ต้องการปริมาณลมมาก อีกทั้งมีเสียงที่ไม่นิ่งเรียบ และการใช้งานต่อเนื่องโดยไม่พักที่ไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องอาจะเป็นผลให้เครื่งอมีการชำรุด

ปั๊มลมระบบสกรู ที่เป็นที่นิยม มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ระบบหล่อลื่นด้วยน้ำมัน (Oil-Flooded)
2. ปั๊มลมระบบหล่อลื่นที่ไม่ใช้น้ำมัน (Oil-free)

ปั้มลมระบบสกรูนั้นให้ประสิทธิภาพในการทำลมได้ปริมาณที่สูงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีเสียงเรียบนิ่ง ประหยัดพังงานไฟฟ้าได้ดี แม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องของราคาและการบำรุงรักษาที่ต้องมีการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยช่างผู้ชำนาญ

หลักการทำงานของปั๊มลมอุตสาหกรรม
ปั๊มลมอุตสาหกรรม ด้วยประสิทธิภาพการผลิตลมได้อย่างต่อเนื่องให้ปริมาณลมได้สูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้หมุนเข้าหากันทำให้เกิด แรงอัดอากาศ ทำให้ความดันลมที่สม่ำเสมอ โดยปริมาณลมและแรงดันลมขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์ รวมถึงการออกแบบของชุดหัวสกรู ยิ่งกำลังสูงตัวเครื่องอัดอากาศก็สามารถผลิตปริมาณลมได้มาก ซึ่งปั๊มลมอุตสาหกรรมนี้มีระบบระบายความร้อนด้วยอากาศและ ระบบระบยายความร้อนด้วยน้ำ

ประสิทธิภาพของเครื่องอัดลม เป็นตัวแปรที่สำคุญมากต่อการใช้พลังงานในระบบอัดอากาศ เนื่องจาก เครื่องอัดอากาศมีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวทำให้เกิดการสึกหรอตลอดเวลา และเมื่อมีอายุการใช้งานนาน อาจจะส่งผลให้เกิดความสูญเสียเนื่องจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพต่ำลงได้มากกว่า 50% เมื่อเทียบกับเครื่องอัดอากาศชุดใหม่ เนื่องจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ ประสิทธิภาพของตัวเครื่องที่ลดลง เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และการบำรุงรักษาที่สม่ำเสมอ